7/10/10

นโยบาย รพสต. พณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข



นโยบายสำคัญของ ฯพณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
---------------------------------------
นโยบายข้อ ๑ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รณรงค์สร้างพฤติกรรมสุขภาพ ลดป่วย ลดโรคแทรกซ้อน
ให้ความสำคัญในการจัดการสุขภาพในระดับชุมชน ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ มาเป็นเครื่องมือในการวางแผนแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่
การ ส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย เช่น
๔.๑ วัยเด็กเล็ก - พัฒนาศูนย์เด็กเล็ก
๔.๒ วัยเรียน - เน้นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ - การดื่มนมในโรงเรียน
๔.๓ วัยผู้สูงอายุ - โครงการฟันเทียมพระราชทาน
๔.๔ หญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
เกลือไอโอดีน
นโยบายข้อ ๒ นโยบายการรักษาพยาบาลเน้น คุณภาพการรักษา คุณภาพการบริการและ การมีส่วนร่วม

ปรับโฉมบริการด่านหน้าโรงพยาบาล (Structure)
พัฒนายกระดับมาตรฐานสถานพยาบาลทุกระดับให้มีมาตรฐานเดียวกันหมด (Service)
การพัฒนาเครือข่ายบริการ (System)
พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต. ) โดยจำแนกเป็น ๓ ขนาด ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรที่จะต้องดูแลรับผิดชอบ

ด้านงบประมาณ
รพสต. ขนาดเล็กไม่เกิน ๓,๐๐๐ คน งบประมาณในการพัฒนา แห่งละ ๔๙๐,๐๐๐ บาท
รพสต. ขนาดกลาง ๓,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ คน งบประมาณในการพัฒนา แห่งละ ๖๙๐,๐๐๐ บาท
รพสต. ขนาดใหญ่ ๗,๐๐๐ คนขึ้นไป งบประมาณในการพัฒนาแห่งละ ๘๙๐,๐๐๐ บาท
ด้านบุคลากร
- โรงพยาบาล รพสต. เดี่ยว จะมี ๔ ตำแหน่งสำคัญ รพสต.ที่เป็นแม่ข่ายจะมี ๗ ตำแหน่ง

๕. จัดบริการสุขภาพคนไทยรอที่รอพิสูจน์สัญชาติ ๔.๕ แสนคน เน้นหนักในเรื่องการควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่ระบาดสู่คนไทย ไม่ว่าจะเป็นโรคเท้าช้าง มาลาเรีย อหิวาตกโรค หรือวัณโรค
๖. จัดตั้ง”ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม” (ศูนย์เยียวยา ผู้เสียชีวิต ๘๘ คน บาดเจ็บ ๑,๘๘๙ กรุงเทพฯและต่างจังหวัด รวม ๔๒ คน)โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเยียวยา ลดผลกระทบเฉียบพลันที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม ให้บริการรักษาพยาบาลทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมที่จะทำให้ชุมชนร่วมกันทำประโยชน์ ลดความขัดแย้งในสังคมและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
นโยบายข้อ ๓ นโยบายการควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ปัญหาโรคติดเชื้อ โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ ภัยธรรมชาติ และภัยจากสารเคมี จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
ทุกจังหวัดดำเนินงานตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างและลดการเสียชีวิต
๒.๑ เฝ้าระวังโรคในกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบ Influenza like illness (ILI )
อย่างใกล้ชิด
๒.๒ สถานพยาบาลทุกแห่ง ทบทวนและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
๓.๓ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรณรงค์ให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆ
๓.๔ พัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ให้มีเพียงพอ ครอบคลุมในทุกพื้นที่ และมีประสิทธิภาพ

นโยบายข้อ ๔ นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภค เน้นการบังคับใช้กฎหมายและการรณรงค์ให้ความรู้ประชาชน
เร่งกำกับดูแลทั้งตัวผลิตภัณฑ์ สถานประกอบการ และควบคุมตัวยาและสารตั้งต้น
อาหารปลอดภัย สุ่มตรวจ สารที่ผิดกฎหมายผสมในอาหาร ทั้ง ๖ ชนิดตามที่กฎหมายห้ามไว้ ได้แก่ สารกันบูด สารเร่งเนื้อแดง สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน บอแร็กซ์
รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ
การดำเนินงานตามกฎหมายหากพบการกระทำผิด
ขยายกิจกรรม อย. น้อยในสถานศึกษา
นโยบายข้อ ๕ นโยบายการสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยให้มีบทบาทมากขึ้น
สถานบริการสาธารณสุขสั่งใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าหมายไว้ร้อยละ ๕ ของปริมาณการสั่งใช้ยาทั้งหมด
พัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบแพทย์แผนไทยภาคละ ๑ แห่ง
พัฒนาหมอพื้นบ้านให้มีประสิทธิภาพ
ส่งแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี ๗๐๐ คน
นโยบายข้อ ๖ นโยบายในการเร่งรัดผลิตและพัฒนาบุคลากรให้เพียงต่อการปฏิบัติงานสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข
ขาดแคลนกำลังคนทางการแพทย์ จำนวน ๑๑,๙๘๔ คน ทันตแพทย์ ๘,๖๖๒ คน พยาบาลวิชาชีพ ๒๘,๐๓๐ คน
เร่งผลิตและพัฒนาบุคลากรทางสาธารณสุข
การสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ
การปรับปรุงกฎระเบียบให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นๆ ที่เหมาะสมเป็นธรรม
การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์
นโยบายข้อ ๗ สนับสนุน อสม. มีบทบาทเชิงรุกมากขึ้น
ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในท้องถิ่นและชุมชน
เสริมสร้างทักษะองค์ความรู้แก่ อสม.ในพื้นที่ รพ.สต.และอสม. ทุกคน
เร่งดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนให้ อสม. ตรงเวลาทุก
นโยบายข้อ ๘ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีความทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานเพื่อประชาชนมากขึ้น
เร่งพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริการ (รักษา ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ คุ้มครองผู้บริโภค ) และวิชาการสาธารณสุข
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพกลาง
จังหวัดควรเร่งดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบ
นโยบายข้อ ๙ ผลักดันโครงการ Medical Hub ให้รุดหน้า มากยิ่งขึ้น
การแก้ไขกฎระเบียบ การออกกฎหมายใหม่ หรือการปรับปรุงกฎระเบียบให้เหมาะสม
การปรับปรุง พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.๒๕๔๑
การสนับสนุน ให้มีการจัดทำคลังข้อมูลงานวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ
สนับสนุนและส่งเสริมช่องทางการตลาดให้กับโรงพยาบาลระดับ ๔ ดาว
กำหนดรูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น พัฒนาระบบ Privitization ในสถานบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชน หรือการพัฒนาระบบ Private Public Partnership
นโยบายข้อ ๑๐ ผลักดันและพัฒนากฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อการสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะกฎหมายใหม่
๑. การร่างกฎหมายใหม่ ได้แก่ ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ….
๒. ร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... เพื่อให้การคุ้มครองผู้มีความรู้ด้านวิชาชีพสาธารณสุขด้านต่าง ๆ ที่ให้บริการแก่ประชาชนและสังคม
๓. การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเดิม ได้แก่ พรบ. ยา , พรบ. อาหาร และ พรบ.เครื่องสำอาง

นโยบายข้อ ๑๑ หน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่
๑. การตรวจสุขภาพเชิงรุกโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
๒. มีการดำเนินงานให้บริการตรวจสุขภาพเชิงรุกในลักษณะบูรณาการทั้งงานรักษา ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค
๓. มีแผนการออกตรวจสุขภาพในทุกอำเภออย่างต่อเนื่อง ให้บริการเชิงรุกที่จะส่งเสริมสุขภาพของประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ส่วน นโยบาย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง
รับได้ จาก ที่นี่ http://ptjsw.blogspot.com/2010/07/blog-post_10.html

No comments:

Post a Comment