7/1/10

แผนที่ทางเดิน ยุทธศาสตร์ SRM SLM Mini SLM


30 มิถุนายน 2553 : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมการประชุม ระดมความคิดเห็น การกำหนดมาตรการ
ทางวิชาการ ตามตารางนิยามเป้าประสงค์ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ณ ห้องประชุมบั้งไฟโก้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ประธาน การประชุมโดย นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร คณะพวกเรา ได้รับผิดชอบเรื่อง สุขภาพจิต และ ผู้สูงอายุ มีผู้ ร่วมทำงาน คณะกลุ่มเรา ประกอบด้วย นางเพียงพร สุทธิอาคาร หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางสุภาพร แก้วใส นางสาวธีรภา ธานี นางจินตนา พลมีศักดิ์ นางประทานพร กสิพันธ์ นายไพศาล กอมะณี นางชรินทิพย์ คำภักดี นางกชกร ชุแก้ว ว่าที่ ร.ท. โฆษิต กัลยา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ที่ปรึกษาประจำกลุ่มจาก ศูนย์สุขภาพจิตที่ ๗ อุบลราชธานี 0849273118 e-mail kalaya_ks@hotmail.com วิทยากร ที่ให้คำแนะนำหลัก ตลอดทั้งวัน โดย นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ความรู้ ที่ ท่านให้ไว้ เข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับ การใช้ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (SRM) แผนที่ทางเดิน ยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ (SLM 2 ปี และ Mini SLM 1 ปี) ดังนี้ SRM: Strategy Route Map คือ แผนที่ใหญ่ ในภาพรวมทั้ง ๔ มุมมอง ถ้าจะทำให้เสร็จได้ ต้องทำเป้าประสงค์ทุกกล่อง ทั้ง ๔ มุมมอง ซึงต้องใช้เวลานาน ๕-๑๐ ปี SLM: Strategy Link Model คือ แผนที่ทางเดิน ยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ (SLM) แผนที่ขนาดเล็ก เพื่อจะให้สำเร็จได้โดย เร็ว จึงเลือกเฉพาะ บางเป้าประสงค์ แต่ ยังคง ครอบคลุมทั้ง ๔ มุมมอง ซึงใช้เวลาไม่นานก็จะสำเร็จ เช่น ๓-๕ ปี Mini_SLM: Strategy Link Model คือ แผนที่ทางเดิน ยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการเร่งด่วน (Mini_SLM) แผนที่ขนาดย่อม เพื่อจะให้สำเร็จได้โดยเร่งด่วน จึงเลือกเฉพาะ บางเป้าประสงค์ แต่ ไม่ต้องครอบคลุมทั้ง ๔ มุมมอง จะเลือกมาทำเพียง ๒ มุมมอง คือ ระดับประชาชน และระดับภาคี ซึงถ้าทำตามนี้ ใช้เวลาสำเร็จเพียง ๑ ปี กลวิธีการ ที่จะนำไปปรับใช้ ในชุมชน คือการใช้เส้นทางลัด โดยการทำเพียง ๒ ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ สถานการณ์ และ การทำ ตาราง ๑๑ ช่องก็เพียงพอแล้ว ส่วนเนื้อหาวิชาการด้านต่างๆ ที่นำไปปรับใช้ ในช่อง ที่ ๔ นั้น ให้ใช้ตามแนวทาง ที่กรม กอง วิชาการต่างๆ ได้นำไว้แล้ว เช่น กรมสุขภาพจิต กรมอนามัย กรมควบคุมโรค เป็นต้น วันนี้ ผมต้องขอขอบพระคุณ ท่าน อาจารย์ ว่าที่ ร.ท. โฆษิต กัลยา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ที่ปรึกษาประจำกลุ่มจาก ศูนย์สุขภาพจิตที่ ๗ ที่กรุณาได้ มอบความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (SRM) ของกรมสุขภาพจิต และ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ (SLM 2 ปี และ Mini SLM 1 ปี) รายประเด็น (4 ประเด็น ที่ได้กำหนดไว้ คือ IQ-EQ / ซึมเศร้า-ฆ่าตัวตาย / พฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่น / ความรุนแรงในครอบครัว) เพื่อนำไปใช้ ศึกษาและนำไปปรับใช้ในระดับพื้นที่ต่อไป.... หรือ สามารถ ดาวโหลด ได้ จาก ที่ นี่ http://www.plan.dmh.go.th/forums/index.php?topic=462.0

No comments:

Post a Comment