8/11/10

ใบสั่งทำความดี 1:9 เราทำได้เพื่อสุขภาพดีของพี่น้องน้องเรา




ใบสั่งทำความดี 1:9 เราทำได้เพื่อสุขภาพดีของพี่น้องน้องเรา
วันที่ 11 สิงหาคม 2553 ภาคบ่าย ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และ คุณ ภัทรวรรณ จันทร์ศิริ เข้าร่วมประชุม ตามโครงการ โครงการรวมพลคนรักดี รักสุขภาพ ทำความดีเข้าพรรษา จังหวัดยโสธร ปี 2553
ณ ห้องประชุม พญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ซึ่ง ดำเนินการประชุม โดย คุณพี่สิริพร พงศ์พัฒนโชติ และ คุณกชกร ชูแก้ว จากกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
มีผู้เข้าร่วมประชุม จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ โรงพยาบาลทุกแห่ง
ซึง โครงการรวมพลคนรักดี รักสุขภาพ ทำความดีเข้าพรรษา จังหวัดยโสธร ปี 2553
มีรายละเอียดดังนี้ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2550 พบว่าอัตราผู้ป่วยในต่อแสนประชากร ในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังค่อนข้างสูงเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1.โรคความดันโลหิตสูง (อัตรา 782.38) 2.โรคเบาหวาน (อัตรา 654.44) 3.โรคหัวใจขาดเลือด (อัตรา 262.32) และ 4.โรคหลอดเลือดสมอง (อัตรา 206.34) โดยพบว่าโรคดังกล่าว มีอัตราการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น จากปี 2540 ทุกโรค ดังนี้ โรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 4.95 เท่า 2.โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น 4.40 เท่า 3.โรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มขึ้น 5.35 เท่า และ 4.โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้น 2.75 เท่า
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและใช้ความพยายามในการลดภาวะความรุนแรงของโรคอ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าว โดยมุ่งไปที่การควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา จัดการอารมณ์ ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จึงดำเนินการจัดทำโครงการรวมพลคนรักดี รักสุขภาพ ทำความดีเข้าพรรษา จังหวัดยโสธร ปี 2553 เป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ในช่วงเข้าพรรษาระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 23 ตุลาคม 2553 ขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างกระแสการตื่นตัว ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของประชาชนในช่วงเข้าพรรษา
2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหรือกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรับรู้ปัจจัยเสี่ยง ตระหนักถึงภัยอันตราย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้าน 3 อ.และ 2 ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุรา สูบบุหรี่ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในช่วงเข้าพรรษา
กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจังหวัดยโสธร จำนวน 2,280 คน
วิธีดำเนินงาน
1.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอ
2.ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอชี้แจงการดำเนินงานแก่ อสม.หรือแกนนำชุมชนในการดำเนินงาน ชักชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ เข้าร่วมโครงการรวมพลคนรักดี รักสุขภาพ ทำความดีเข้าพรรษา จังหวัดยโสธร ปี 2553 อสม.หรือแกนนำ 1 คน ชักชวน 9 คน
3.อสม.หรือแกนนำ แนะนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงเลือกพฤติกรรมที่จะรักดี และทำความดีตลอดช่วงเข้าพรรษาปี 2553 บันทึกใน ใบสั่งทำความดีเข้าพรรษา
4.อสม.หรือแกนนำ รวบรวม ใบสั่งทำความดีเข้าพรรษา ส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อสรุปข้อมูลและประเมินบุคคลต้นแบบรักดีทำดีเข้าพรรษา
5.ติดตามการปฏิบัติงานและแนะนำความรู้ ให้กำลังใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. และ 2 ส.
6.สรุปผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินงาน วันที่ 27 กรกฎาคม – 23 ตุลาคม 2553
งบประมาณการดำเนินงาน จากโครงการน้ำพระราชหฤทัยในหลวงฯ จากกระทรวงสาธารณสุข
จำนวน 32,540 บาท (สามหมื่นสองพันห้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน)

หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมประชุม ในครั้งนี้ ประกอบด้วย

นส.ราศรี อาษาจิต จาก โรงพยาบาลป่าติ้ว
นางสุปราณี พลไชย โรงพยาบาลยโสธร
นส.นริศรา พรมบุตร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย
นส.ทิพวรรณ ผางนุย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอค้อวัง
นางสมพร มูลแวว โรงพยาบาลค้อวัง
นางภูมิจิตร คุณาประถถม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทรายมูล
นางอนัญญา โรจนชาตรี โรงพยาบาลกุดชุม
นางเพียงพิศ สายสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ
นายสมพงษ์ กาลจักร โรงพยาบาลไทยเจริญ
นางจันทร์เพ็ญ นิยมพงษ์ โรงพยาบาลไทยเจริญ
นางปัทมา สุวรรณเพชร ศูนย์สุขภาพทรายมูล
นางรจนา ภูมิแสน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร
นางจันทรา แกล้วกล้า สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดชุม
นางจิตรลัดดาวรรณ โสวะภาสน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
นางแคทรียา แสงศิริพงษ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

... ขอเป็นกำลังใจ ให้ พวกเราทุกคน ร่วมกัน ขนายความดีนี้ ให้เต็มพื้นที่ และ เตรียม รับ การทำความดี งานศพปลอดเหล้า เต็มพื้นที่ จังหวัดยโสธร ต่อไป ในอนาคตอันใกล้นี้นะครับ

รวมทั้ง ตัวอย่าง ที่ดีดี ตาม กิจกรรม AA 12 ขั้นตอน ที่ คุณพี่ อนัญญาได้เล่าให้ฟังดีมากเลยครับ โดยเฉพาะ การอ่าน เรื่องเล่า จากประสบการณ์ อันยิ่งใหญ่ ของแต่ละ คน ที่เรียกว่า BB หรือ Big Book ของเขา ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของเราครับ..
Alcoholics Anonymous (AA) is an international mutual aid movement claiming over 2 million members and declaring its "primary purpose is to stay sober and help other alcoholics achieve sobriety".[1][2] AA was founded in 1935 by Bill Wilson and Dr. Bob Smith (Bill W. and Dr. Bob) in Akron, Ohio. Along with other early members, Wilson and Smith developed AA's program of spiritual and character development, the Twelve Steps. The Twelve Traditions are AA's recommendations for its groups stressing: anonymity, altruism, and inclusion of all who want to stop drinking. The Traditions also try to steer AA clear of dogma, affiliation with other entities, internal governing hierarchies and involvement in public issues. Subsequent fellowships, such as Narcotics Anonymous, have adopted the Twelve Steps and the Twelve Traditions.[3][4]

Protestant-only until a Catholic joined in 1939,[5] AA membership has since grown and spread "across diverse cultures holding different beliefs and values", including geopolitical areas resistant to grassroot movements.[6]

Although AA views discussions on the medical nature of alcoholism as beyond its scope, AA is regarded as a proponent and popularizer of the disease theory of alcoholism.[3][7][8][9] The American Psychiatric Association has recommended sustained treatment in conjunction with AA's program, or similar community resources, for chronic alcoholics unresponsive to brief treatment.[10] AA's own data state that 64% drop out of AA in their first year,[11][12] but its program is credited with helping many alcoholics achieve and maintain sobriety.[13]

AA got its name from its first book titled Alcoholics Anonymous: The Story of How More Than One Hundred Men Have Recovered From Alcoholism. Informally known as "the Big Book of AA" - with the subtitle later amended to say "...Many Thousands of Men and Women..." - it describes AA's program, details AA's early history, and contains brief inspirational autobiographies of AA members.
Thank for data from http://en.wikipedia.org
AA ศึกษา เพิ่มเติมได้ พิมพ์ คำว่า Alcoholics Anonymous นี้นะครับ

No comments:

Post a Comment