8/22/10

นโยบาย ปลูกต้นไม้ สร้างชาติไทย ให้มั่นคง



วันที่ 22 สิงหาคม 2553 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอเสนอ นโยบาย ปลูกต้นไม้ สร้างชาติไทย ให้มั่นคง
ผมอยู่ในชนบท รู้สึกเสียดายมาก ที่เห็น ชาวบ้าน พากัดตัดต้นยางนา ที่เกิดเองตามไร่นาทิ้งไม่ยอมปล่อยไว้ให้ต้นไม้ชนิดนี้เติบโต ในพื้นที่ของตนเอง เพราะต้นยางนาตามกำหมายถือว่าเป็นไม้หวงห้าม ห้ามตัดไม่ว่าในกรณีใดๆ ชาวบ้านเกรงว่าจะได้รับความเดือดร้อน จึงพากันตัดทิ้งตั้งแต่ยังเล็กๆ ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้ว ต้นยางนา ถือเป็นต้นไม้โตเร็ว และเป็นไม้เศรษฐกิจ หากส่งเสริมให้ชาวบ้านดูแลรักษา และช่วยกันปลูก ในพื้นที่ของตนเองได้ ก็จะเพิ่มมูลค่ามหาศาลให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในอนาคตสืบไป รวมทั้งต้นไม้ชนิดอื่นๆ ที่เป็นความต้องการของตลาดด้วย เช่นไม้พยุง ไม้มันปลา หรือ กันเกลา เป็นต้น
ปัจจุบัน รับบาลไทย มีเพียงแค่นโยบาย การห้ามตัดต้นไม้ และ การจับกุม หลังจากที่ประชาชนตัดไม้เหล่านี้แล้ว ซึ่ง เป็นช่องทางให้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ส่วนน้อยบางคน ใช้เป็นช่องทางในทางมิชอบได้ นับวัน ต้นไม้เหล่านั้น ที่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติที่บรรพบุราสั่งสมไว้ มีแต่จะลดน้อยไปเรื่อยๆ โดยที่พวกเราในปัจจุบัน ไม่มีนโยบายจะเพิ่มปริมาณ ต้นไม้เศรษฐกิจ เหล่านี้ ให้เป็นสมบัติของลูกหลานในอนาคต ทั้งๆที่ต้นไม้เศรษฐกิจ เหล่านี้ เป็นความต้องการของตลาด แต่อย่างใด
ฉะนั้น ผมจึงอยากจะเสนอให้พวกเรา ในทุกภาคส่วน ได้ร่วมกัน เพิ่มมลค่าสินทรัพย์ ให้กับประเทศ ของเราในระยะยาว ด้วย นโยบาย ปลูกต้นไม้ สร้างชาติไทย ให้มั่นคง ดังนี้
ภาคประชาชน หมายถึง คนเราทุกๆคน ที่มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ให้ปลูกต้นไม้ เศรษฐกิจเหล่านี้ ดูแล รักษาให้เจริญเติบโตให้ได้ อย่างน้อยเฉลี่ย คนละ ๑ ต้น ต่อปี ( คนที่มีพื้นที่มาก ปลูกมา เผื่อผู้ที่ไม่มีพื้นที่ด้วย)จะได้ต้นไม้ที่เพิ่มขึ้น ปีละ ๖๐ ล้านต้น ต้นไม้ทุกต้นที่ปลูก ให้ลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ไว้
ส่วนคนที่ไม่มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ มีส่วนร่วมได้โดย สมทบทุนเข้ากองทุนการดูแลรักษาต้นไม้ เป็นรายปี ปีละ ๑๐-๒๐ บาทเป็นต้น
ภาคชุมชน ปลูกต้นไม้ และบำรุงรักษาให้เจริญเติบโต ในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านชุมชน ของตนเอง ต้นไม้ที่ได้ ให้เป็นสมบัติของชุมชน ต้นไม้ทุกต้นที่ปลูก ให้ลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ไว้ และ รวมพลังที่เข้มแข็ง ป้องกันไม่ให้ มีการหาประโยชน์ โดยมิชอบ จากป่าไม้ ของ คนบางกลุ่ม
ภาคราชการ ให้ความรู้ วิธีการปลูกต้นไม้ ให้ได้ผลดี และส่งเสริม พันธุ์กล้าไม้ ที่เป็นประโยชน์ และเป็นที่ต้องการของตลาด สนับสนุนให้กับประชาชน รวมทั้งแนวโน้มของตลาดให้ประชาชนได้ทราบ ผมยังประทับใจ ท่านผู้ว่า สุธี มากบุญ อดีต ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ที่ สนับสนุนให้ประชาชน จังหวัดยโสธร ปลูกต้นไม้ ยางนา ๑๐ ปีผ่านไป ต้นไม้ เหล่านั้น ตอนนี้ โตพอสมควรแล้ว (เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย ๓๐ ซม.)
ภาคการเงิน ให้ประชาชน และชุมชน สามารถกู้เงิน ลงทุน เพื่อการปลูกป่า และดูแลรักษาป่าได้ ตามหลัเกณฑ์
ภาคเอกชน ให้การสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง ตามกำลังความสามารถของตนเอง ขอยกตัวอย่างที่ทำได้ดีมาโดยตลอด คือ ป.ต.ท. โครงการปลูกต้นไม้ ๑ ล้านไร่ บางจาก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ภาครัฐ ให้ความมั่นใจแก่ประชาชน ว่า ต้นไม้ทุกต้นจะได้รับความคุ้มครอง ด้านทรัพย์สิทธิ และด้านราคา หากไม่ใช่ต้นไม้หวงห้ามตามกฎหมาย ให้เป็นสมบัติส่วนตัว ของ ประชาชน และชุมชน ที่ปลูก หากเป็นต้นไม้หวงห้ามตามกฎหมาย ให้เป็นสมบัติของชาติ รัฐจะมีระเบียบการอุดหนุนเงินค่าดูแลรักษาให้กับประชาชน ที่ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตนเอง ตามขนาดของต้นไม้ เช่น ไม้ยางนาเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ ซม. อุดหนุนให้ ต้นละ ๒๐ บาทต่อปี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ ซม. อุดหนุนให้ ต้นละ ๓๐ บาทต่อปี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ ซม. อุดหนุนให้ ต้นละ ๓๐ บาทต่อปี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ ซม. อุดหนุนให้ ต้นละ ๑๐๐ บาทต่อปี เป็นต้น หลังจากนั้น กำหนดวิธีการ หากประสงค์ จะตัดขายให้แจ้งต่อนายทะเบียน เมื่อขายได้ ให้นำเงิน ค่าบำรุงรักษา ส่งคืน ให้กับรัฐ พร้อมกับค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด
ภาคการเมือง กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วน เป็น วาระ ปลูกต้นไม้ สร้างชาติไทย ให้มั่นคง และ แก้ไขกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รัฐ และภาคราชการ สามารถนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติให้บรรลุผลได้
พรรคการเมืองไหน สนใจ ทั้งพรรครัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน สามารถนำไปกำหนดเป็นนโยบายได้เลยนะครับ.. ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ เพราะ แค่ท่านคิดจะทำก็นับว่าได้สร้างบุญ กุศล อันยิ่งใหญ่ ให้กับประเทสไทยแล้วครับ..
ในขณะที่ ข้อเสนอตามด้านบนยังไม่ได้การตอบสนอง ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมปลูกต้นไม้ สร้างชาติไทยให้มั่นคง อย่างน้อย ให้ถือว่า เป็นการมอบทรัพย์สมบัติให้ลูกหลานเรา และ สร้างโลกให้สดใสเพื่อเพิ่มออกซิเจนในอากาศ ขอชื่นชม ตัวอย่างบุคคลที่ปลูกต้นไม้โดยไม่หวังค่าตอบแทน คือ ดาบวิชัย ครับ..
มูลเหตุสำคัญ ที่เสนอนโยบายต่อไปนี้ มาจาก ชาวบ้านแถวบ้านผม ไม่มีน้ำทำนาในปีนี้ ณ วันนี้ บางครอบครัว ยังไม่ได้ปักดำ เพราะทุ่งนาไม่มีน้ำ ฝนไม่ตก มานานแล้ว บางส่วนก็แก้ไขปัญหา ด้วยการแผ้วถางป่า ขยายพื้นที่ปลูกไร่ มันสำปะหลังบ้าง ปลุกยางพาราบ้าง ... และน่าเสียดาย ที่ต้นไม้ใหญ่ หลายๆต้น ถูกโค่นทิ้ง ไป ซึ่งนับวัน แต่พื้นที่ป่า ในชุมชน จะลดน้อยไปเรื่อยๆ .. ผมมองไม่เห็น ว่าปัจจุบัน เราจะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่า ให้กับประเทศได้อย่างไร ….
ซึ่งข้อมูลจาก http://www.thaienvimonitor.net ระบุว่า การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยสูญเสีย พื้นที่ป่าไปแล้วประมาณ 67 ล้านไร่ หรือเฉลี่ยประมาณ 1.6 ล้านไร่ต่อปี กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ถึงร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 171 ล้านไร่ และลดลงมาโดยตลอดจนในปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 27.95 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 90 ล้านไร่ รัฐบาลในอดีตได้พยายามจะรักษาพื้นที่ป่าโดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ในป่าบกทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2532 แต่หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าไม้ สถานการณ์ดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น ต่อมาการทำลายก็ยังคงเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากสถานการณ์ก่อนยกเลิกสัมปทานป่าไม้เท่าใดนัก โดยพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกก่อนการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.2 ล้านไร่ และพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ย 1.1 ล้านไร่ต่อปี
การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศ และประโยชน์ที่จะได้รับจากทรัพยากรป่าไม้ทั้งที่เป็นประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นในการประเมินการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้จะประเมินจากมูลค่าประโยชน์ของป่าที่คำนึงถึงประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตจากงานของ TDRI และ HIID (1995) โดยงานวิจัยนี้ทำการประเมินมูลค่ารวม (total economic value) ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทั้งที่เป็นมูลค่าจากการใช้ (Use value) ในส่วนของมูลค่าด้านนันทนาการ (recreational value) และมูลค่าจากการมิได้ใช้ (Non-use value) ในส่วนของมูลค่าของการดำรงอยู่ (existence value) มูลค่าเพื่อลูกหลานในอนาคต (bequest value) และมูลค่าเผื่อจะใช้ (option value) มูลค่ารวมของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ประเมินได้จากงานวิจัยครั้งนี้เท่ากับ 3,080 ล้านบาทต่อปี (ราคาปี พ.ศ. 2537) หรือประมาณ 2,272 บาทต่อไร่ต่อปี และเมื่อปรับราคาเป็นราคาปี พ.ศ. 2547 จะมีมูลค่าประมาณ 3,167.88 บาทต่อไร่ต่อปี ... ในการคำนวณมูลค่าการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้จะประเมินโดยพิจารณาจากเป้าหมายของประเทศที่ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ โดยประเมินจากส่วนต่างของพื้นที่ป่าไม้กับเป้าหมายโดยใช้มูลค่าป่าต่อไร่จากงานของ TDRI และ HIID (1995) โดยคิดเป็นมูลค่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เพราะในปีดังกล่าวพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยมีประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งเท่ากับเป้าหมายที่ภาครัฐได้ตั้งไว้ ทั้งนี้ข้อมูลพื้นที่ป่าจะใช้ข้อมูลจากสถิติการเกษตรรายปี ซึ่งรวบรวมโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ดังนั้นในการคำนวณหาต้นทุนจากการสูญเสียพื้นที่ป่าจึงคำนวณมูลค่ารายปี มีมูลค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80,813 ล้านบาทต่อปี … การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ย่อมหมายถึงการสูญเสียประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ทั้งที่เป็นประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ (Use value) และประโยชน์ที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ (Non-use value) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าไม้ในแต่ละพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน การใช้มูลค่าเดียวในการประเมินประโยชน์อาจไม่ถูกต้องนัก ดังนั้น จึงควรมีการศึกษามูลค่าทรัพยากรป่าตามประเภทของป่าในลักษณะต่างๆ เนื่องด้วยป่าแต่ละประเภทมีความหลากหลายทางชีวภาพแตกต่างกัน เพื่อให้การประเมินมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น.

No comments:

Post a Comment