8/31/11

ตัวชี้วัดหลักงานสาธารณสุขKPIsยโสธร

วันที่ 31 สิงหาคม 2554 :ตัวชี้วัดหลักงานสาธารณสุขKPIsยโสธร


โอ่งแห่งชีวิต Jar of life : พันธุ์ทอง จันทร์สว่าง

ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว




นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว เข้าร่วม การอบรมบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ระหว่างวันที่ 29-31 ส.ค.54 ณ โรงแรมกิจตรงวิลล์ รีสอร์ท ตำบลขามใหญ่ จังหวัด อุบลราชธานี วิทยากร โดย ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร อาจารย์มาริษา นาคทับทิม และคณะ

จาก วิสัยทัศน์ และประเด็นยุทธศาสตร์ ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

วิสัยทัศน์:เป็นองค์กรชั้นนำด้านการจัดการระบบสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบสุขภาพ

และเป้าประสงค์ 17 เป้าประสงค์ จากทั้ง 4 มุมมอง นั้น นำมา กำหนด เป็น ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก Key Performance Indicators:KPIs) ได้ดังนี้

ในวันนี้ ระดมความคิด จาก ผู้เข้าร่วมประชุม ในหัวข้อ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก: Key Performance Indicators: KPIs

การกำหนดกลยุทธ์ โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix

ข้อกำหนดที่สำคัญคือ กลยุทธจะต้องไม่เลือนลอย มีที่มาโดยมี SWOT รองรับ

ตัวที่จะบอกราได้ว่าจะกำหนดกลยุทธใด คือ ตัว ปัจจัยภายในองค์กรเท่านั้น

ส่วน ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยเอื้อ หรือขัดขวางกลยุทธ ของเรา ฉะนั้น ในการกำหนด กลยุทธ จึง สามารถ จับคู่ ปัจจัยภายในกับปัจจัยนอกนอก ได้ 4 คู่ ( ไม่ให้จับคู่ ปัจจัยภายใน กับ ปัจจัยภายใน หรือ ปัจจัยภายนอก กับ ปัจจัยภายนอก)

คู่ที่ 1 S+O กลยุทธเชิงรุก ดี1ประเภท1 หรือกลยุทธ ที่ต้องลุยทันที หรือ กลยุทธ ผลึกกำลัง เพื่อใช้จุดแข็งเปิดโอกาสใหม่ทางการแข่งขัน (หรือกลยุทธเชิงรุก) Matching approach

คู่ที่ 2 S+T กลยุทธเชิงรับ ดี1ประเภท2 หรือกลยุทธ โอบอ้อม การอาศัยจุดแข็ง ต้านและตรึงภาวะคุกคาม ที่มีต่อ วัตถุประสงค์ขององค์กร (หรือกลยุทธเชิงรับ) Covering approach

คู่ที่ 3 W+O กลยุทธ ทดแทน มีจุดอ่อนต้องเร่งพัฒนาจุดอ่อน เพื่อใช้โอกาสที่มีอยู่ขององค์กร

(หรือกลยุทธเชิงพัฒนา) Off-set approach

คู่ที่ 4 W+T กลยุทธ บรรเทา เพื่อหาทางแก้ไขจุดออ่อน และเลี่ยงภาวะคุกคาม ที่บดบังวัตถุประสงค์ขององค์กร (หรือกลยุทธพลิกแพลง) Mitigation approach


กลยุทธ์ Strategy ง่ายๆ  คือ ความคิดที่ชาญฉลาด สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แล้ว นำไปสู่ความสำเร็จ

กลยุทธ์ที่ดี มีคุณลักษณะ

1.    เป็นกลยุทธ์ แตกต่างที่คนอื่นคิดไม่ถึง

2.    เป็นกลยุทธ์ ถูก กาละ เทศะ

 

นักกลยุทธ์ ทำอะไร Think  Plan Act

1.    Think เป็นนักคิด

2.    Plan เป็นนักวางแผน ( แปลงความคิดสู่การปฏิบัติ)

3.    Act เป็นนักปฏิบัติ ( เรียนไปปรับไป ว่าแผน หรือ ความคิดนั้น work ไหม หากไม่ดีก็ คิดใหม่ วนไปเรื่อยๆ เป็น Circle

 

ทุกสิ่งไม่ได้เป็นไปตามแผน ยกตัวอย่าง คือ ระดับบุคล วางแผนให้ร่างกายแข็งแรง

กิจกรรมหลักคือ 3 อ 2 ส.

อ. ควบคุมอารมณ์ พอทำได้

อ.อาหาร ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

จะพบว่า อ. ออกกำลังกาย ล้มหเหลว มาก และ ปรับแผนบ่อยที่สุด

 

ประสบการณ์ตรง ของผม ( นายพันธุ์ทอง )

ทุกสิ่งที่วางแผนไว้จะลงมือทำ ไม่ต้องรอให้มีความพร้อมจึงทำ เพราะหากรอ จะไม่มีวันได้ทำ

เพราะความพร้อมเกิดขึ้นได้ยากมา

ทำไปแล้วไม่ต้องคาดหวังผลให้ดีที่สุดแต่ผมจะทำให้ดีเพียงพอเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ

 

ทำไป ปรับไป PDCA

หลัก The Jar of life ยังใช้ได้เสมอ ต้องใส่หินก้อนใหญ่ ในชีวิต 24 ชั่วโมง ก่อน

หินก้อนสำคัญ หินจำเป็น ส่วน หินไม่จำเป็น หรือ สิ่ง อัปมงคล ไม่ควรนำเข้าสู่ชีวิต

 

การก้าวเดินสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ต้อง

เริ่มจากกิจกรรมเล็ก ๆ กิจกรรมเล็กๆต้อง ทำเรื่องใกล้ตัว

หลักการคือ ทำน้อย แต่ได้ มาก

 

สิ่งที่ ทำน้อย แต่ได้ มาก ของผมเช่น

แต่ได้การควบคุมอารมณ์ อ่อนน้อม ถ่อมตน

การออกกำลังกาย  

การทำสมาธิ  

ประสบการณ์ของผม ทำน้อยได้มาก แบบบูรณาการ  ได้ทั้ง การควบคุมอารมณ์ กำลังกาย และ ใจได้สมาธิ ได้แนวคิดใหม่ ๆในการทำงาน คือ การวิ่ง  อย่างน้อย วันละ 10.5 กม.

 

ต้องมีเข็มทิศชีวิต งาน

            จะได้รู้ว่าเราไปถูกทางไหม เราต้องรู้ว่า ตอนนี้เรา อยู่ที่ ไหน

           เป้าหมาย          ต้องซอยย่อย เล็กลง ให้สำเร็จง่าย มีเวลาเชยชมความสุขระหว่างทางได้

เป้าหมายที่ดี ต้องไม่ใช่ศิลาจารึก  ( Flexible ) เปลี่ยนแปลงได้ แต่ ยังอยู่ในเส้นทางที่วางแผนไว้

           เพราะโลกนี้ ไม่มีเพียงสีขาว กับ ดำ Binary Scale

ยังมี Gray Zone ที่หลากหลายมากมายให้พิจารณาหรือสามารถทำได้

เพราะหากติดกรอบ จะ แบ่งแยก สังคม ออกเป็น 2 กลุ่ม ชัดเจน

ยกตัวอย่าง การแก้ปัญหา หาบเร่ แผงลอย

กีดขวางทางเดิน

สุขอนามัย

สะอาด

กระทบร้านค้าอื่น

เข้าถึงง่าย

ราคาถูก

เป็นสีสันดึงดูดผู้คนได้

สินค้าหลากหลาย

เคลื่อนย้าย ทำความสะอาดง่าย

สร้างคน สร้างงาน

สร้างเศรษฐกิจที่หลากหลาย 


ร่างแผนยุทธศาสตร์งานสาธารณสุข:จังหวัดยโสธร















วันที่ 31 สิงหาคม 2554 :ร่างแผนยุทธศาสตร์งานสาธารณสุข:จังหวัดยโสธร

ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว เข้าร่วม การอบรมบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ระหว่างวันที่ 29-31 ส.ค.54 ณ โรงแรมกิจตรงวิลล์ รีสอร์ท ตำบลขามใหญ่ จังหวัด อุบลราชธานี วิทยากร โดย ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร อาจารย์มาริษา นาคทับทิม และคณะ

จาก วิสัยทัศน์ และประเด็นยุทธศาสตร์ ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

วิสัยทัศน์:เป็นองค์กรชั้นนำด้านการจัดการระบบสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบสุขภาพ

ในวันนี้ เป็นการ ระดมความคิด ที่สำคัญ จาก ผู้เข้าร่วมประชุม ในหัวข้อ แผนที่ยุทธศาสตร์งานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร โดย ใช้แนวคิด BSC : 4 Perspectives in Balanced Scorecard ของ Robert S. Kaplan and David P. Norton

· มุมมองด้านการเงิน The Financial Perspective

· มุมมองด้านกระบวนการ เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการภายใน The Business Process Perspective

· มุมมองด้านลูกค้า เน้นความพึงพอใจของลูกค้า The Customer Perspective

· มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและระบบ The Learning & Growth Perspective

กพร. นำมาปรับใช้ ในการบริหารราชการ เป็น 4 มิติ 4 มุมมองเหมืนเดิม แต่ ปรับ มุมมองด้านการเงิน เพราะ

การบริหารราชการ ไม่ได้มุ่งเน้นผลกำไร เป็นสำคัญ แต่มุ่งเน้นประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมากกว่า

เมื่อมีการพัฒนาองค์การ (Learning and Growth) ที่ดี

จะส่งผลให้ องค์กรภายใน ประสิทธิภาพ The Business Process Perspective

แล้วส่งผลให้บริการที่ให้แก่ลูกค้า มีคุณภาพ The Customer Perspective

แล้วผลลัพธ์ที่ได้จากการบริการภาครัฐ จะมี ประสิทธิผล The Financial Perspective

ฉะนั้น BSC แต่ละมุมมอง ตามกรอบของ สำนักงาน กพร. สามารถสรุปได้ดังนี้

มิติที่ 1 ด้านการพัฒนาองค์กร ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

มิติที่ 2 ด้านประสิทธิภาพของการให้บริการ ส่วนราชการแสดงความสามารถ ในการ ปฏิบัติราชการ

มิติที่ 3 ด้านคุณภาพการให้บริการ ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญ กับผู้รับบริการ ในการให้บริการ ที่มีคุณภาพ

มิติที่ 4 ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ส่วนราชการแสดงผลงาน ที่บรรลุเป้าประสงค์ ที่ได้รับงบประมาณดำเนินการ

ซึ่งสรุปได้ดังนี้ เป็นร่างแผนที่ยุทธศาสตร์การพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

หรือร่างแผนกลยุทธการพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

ซึ่ง แยกเป็นรายละเอียดตามเป้าประสงค์(GOAL)ในแต่ละมุมมอง ตาม BSC 4 มุมมอง

มิติที่ 1 ด้านการพัฒนาองค์กร ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

G17 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูลสนับสนุนการบริหารและการปฏิบัติงาน

G16 การเตรียมความพร้อมมุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลก

G15 เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านสุขภาพ

G14 สถานบริการมีอุปกรณ์และเครื่องมือ ที่ทันสมัยอย่างเพียงพอและพร้อมใช้

G13 สถานที่ทำงานน่าอยู่ และมีบรรยากาศ ที่ดี เหมาะสมในการปฏิบัติงาน

G12 มีบุคลากรเพียงพอ และมีสมรรถนะที่จำเป็น และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน

มิติที่ 2 ด้านประสิทธิภาพของการให้บริการ ส่วนราชการแสดงความสามารถ ในการ ปฏิบัติราชการ

G11 ภาคีเครือข่ายสุขภาพมีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ

G10 ระบบบริการสุขภาพเชิงรุกมีประสิทธิภาพ (ส่งเสริม, ป้องกัน, รักษา, ฟื้นฟู)

G9 ระบบบริหารความเสี่ยงและ การควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ

G8 การบริหารงบประมาณ การเงิน มีประสิทธิภาพ

G7 การบริหารแผนงาน และ การติดตามประเมินผลมีประสิทธิภาพ

G6 ระบบบริหารจัดการ มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

มิติที่ 3 ด้านคุณภาพการให้บริการ ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญ กับผู้รับบริการ ในการให้บริการ ที่มีคุณภาพ

G5 ประชาชนพึงพอใจ

G4 สถานบริการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพการบริการ (HA, PCA)

มิติที่ 4 ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ส่วนราชการแสดงผลงาน ที่บรรลุเป้าประสงค์ ที่ได้รับงบประมาณดำเนินการ

G3 ประชาชนได้รับความคุ้มครองใน การบริโภคผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ

G2 ประชาชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้

G1 ประชาชนมีสุขภาพดี

เขียนเป็น แผนที่กลยุทธการพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้ดังภาพนี้

สสจ.ยโสธรมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย_ได้เวลาทบทวน_PADIT_ค่านิยม 6 Building Blog 7 s SWOT













วันที่ 30 สิงหาคม 2554 :สสจ.ยโสธรมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย_ได้เวลาทบทวน
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว เข้าร่วม การอบรมบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ระหว่างวันที่ 29-31 ส.ค.54 ณ โรงแรมกิจตรงวิลล์ รีสอร์ท ตำบลขามใหญ่ จังหวัด อุบลราชธานี วิทยากร โดย ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร อาจารย์มาริษา นาคทับทิม และคณะ
บรรยากาศที่ผมประทับใจ คือ บรรยากาศที่ดี ของการเสนอแนวความคิดของแต่ละบุคคล ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอแนวความคิดของตนเอง ในทุกขั้นตอน และการดำเนินการรวบรวม ตกผลึกแนวความคิด ของแต่ละคน ออกมาเป็นแนวความคิดของกลุ่มย่อย สุดท้ายวิธีการหลอมรวมแนวความคิด ของกลุ่มใหญ่ ได้ อย่างมีคุณค่าภายใต้บรรยากาศสนุกสนานที่ดี
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เราใช้วิสัยทัศน์ บริการได้มาตรฐาน บริหารงานคุณภาพอย่างโปร่งใส ทันสมัยระบบสารสนเทศ มาตั้งแต่ปี 2543 สมัยนั้น พวกเราไปจัดทำวิสัยทัศน์ กันที่ โรงแรม พลอยพาเลซ จังหวัดมุกดาหาร วิทยากร โดย อาจารย์ ดร. เนาวรัตน์ สุวรรณผ่อง ( ผมจำได้ดี เพราะ รับหน้าที่ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นปีแรก )
ณ วันนี้ เราได้ข้อสรุปเบื้องต้น ที่จะนำ แนวความคิดที่ตกผลึกแล้วนี้ไปกำหนด เป็น วิสัยทัศน์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ที่จะใช้ในอนาคต 5 ปี ข้างหน้า 2555-2559 เมื่อผ่านการรับรองในเวทีใหญ่ของเราในอนาคตต่อไป
สสจ.ยโสธรมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย_ได้เวลาทบทวน
ร่างข้อสรุปที่เราได้ร่วมกันในวันนี้ สรุปได้ดังนี้
(ร่างวิสัยทัศน์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร)
เป็นองค์กรชั้นนำด้านการจัดการระบบสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
(ร่างค่านิยมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร)
รับผิดชอบ มีวินัย ใจสัตย์ซื่อ ตรงต่อเวลา พัฒนาทีมงาน
รับผิดชอบ Accountability หรือ Responsibility
มีวินัย Discipline
ใจสัตย์ซื่อ ความซื่อสัตย์ Integrity
การตรงต่อเวลา Punctuality หรือ On Time
การทำงานเป็นทีม Teamwork
ในที่นี้ ผมจะ เขียนให้จำง่ายๆ ว่า PADIT
P: Punctual:  การตรงต่อเวลา
A: Accountability รับผิดชอบ
D: Discipline มีวินัย
I: Integrity ใจสัตย์ซื่อ ความซื่อสัตย์
T: Teamwork การพัฒนาทีมงาน
(ร่างพันธกิจสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร)
โดยที่ พันธกิจ เป็น กิจกรรมหลักที่จะทำให้วิสัยทัศน์บรรลุผล ซึ่งการเรียงลำดับ พันธกิจ หมายถึง การทุ่มเททรัพยากร ไปในจุดนั้นก่อน ตามลำดับความสำคัญที่เราได้เรียงลำดับไว้ ) สรุปแล้ว ได้ลำดับดังนี้
1. พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
3. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน
4. สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบสุขภาพ
5. พัฒนาวิชาการและส่งเสริมนวตกรรมด้านสุขภาพ
(ร่างเป้าประสงค์หลักสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร)
1. ระบบบริการสุขภาพมีคุณภาพตามมาตรฐาน ประชาชนมีสุขภาพดี
2. ระบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
3. บุคลากรมีสมรรถนะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน
4. ประชาชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ
5. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาวิชาการและนวตกรรมด้านสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง
(ร่างประเด็นยุทธศาสตร์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร)
1. พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
3. สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบสุขภาพ
หมายเหตุ - พัฒนาบุคลากรมีสมรรถนะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน ไม่หายไป
แต่ อยู่ใน เรื่อง พัฒนาระบบการบริหารจัดการ
- พัฒนาวิชาการและส่งเสริมนวตกรรมสุขภาพ ไม่หายไป แต่ อยู่ใน เรื่องพัฒนาระบบบริการสุขภาพ



การบริหารเชิงกลยุทธ์
คำสำคัญ คือ ผู้บริหาร กับ การขับเคลื่อน โดย ภาวะผู้นำ 
เพื่อขับ และ เคลื่อน ให้ไปถึงเป้าหมาย ต้องไปอย่างมีทิศทาง ทิศทางที่จะไปคือ Vision
ขับไปด้วยพลังขับที่ สำคัญ 2 ประการคือ ผู้บริหาร กับ ภาวะผู้นำ
ขับ เคลื่อน ด้วย อะไร ขับ เคลื่อนได้ด้วย  มาตรการสำคัญ  
เช่น กระทรวงสาธารณสุข ใช้ 4 มาตรการสำคัญ หรือ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์  หรือ 4 Excellence ประกอบด้วย 
1. ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค คุ้มครองผู้บริโภค 
2. ระบบริการ คุณภาพ ( รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ ) 
3. กำลังคนด้านสุขภาพ
4. บริหารจัดการด้วยธรรมาภิบาล 
การบริหารเชิงกลยุทธ์ กระดุมเม็ดแรก เริ่มที่ การจัดทำแผน
ตามหลักการบริหาร POSDCoRB
ทักษะของผู้บริหาร โดยทั่วไป คือ Conceptual Skill Technical Skill Human Skill



วิสัยทัศน์ VISION   เป็นการกำหนดทิศทาง ซึ่งมีคำบอก Target Goal ใหญ่ๆเอาไว้

            เห็นก่อนใคร ไปไกลกว่า

การบริหารเชิงกลยุทธ์       ง่าย ๆคือ การไปสู่เป้าหมาย ด้วยมาตรการสำคัญ

            มาตรการสำคัญ    คือ ต้อง รู้เขา รู้เรา  

รู้เขา : ปัจจัยภายนอก ที่เราไม่สามารถควบคุมได้

รู้เรา  :ปัจจัยภายใน ที่เราสามารถควบคุมได้

รู้เขา รู้เรา  รู้ได้จาก การวิเคราะห์ สถานการณ์ หรือ Situation Analysis

รู้เขา      วิเคราะห์ จาก PESTEL : Political Economic Social Technology Environment Legal

               PESTEL: ในแต่ละข้อความ ต้องบอกให้ได้ว่า เป็น ส่งผลต่อเราอย่างไร

            หากส่งผลเชิงบวกกับเรา ถือว่าเป็นโอกาส Opportunity

            หากส่งผลเชิงลบกับเรา ถือว่าเป็นภาวะคุกคาม Threat

รู้เรา      วิเคราะห์ SWOT Analysis

            นำกรอบใด มา วิเคราะห์ ปัจจัยภายใน เพื่อหา SWOT

โดยทั่วไป ใช้ 7 S  ของ McKinsey 

แต่ ในวงการสาธารณสุข WHO แนะนำ ให้ใช้ 6 Building Blog

ซึ่ง6 Building Blog : GFSMIT เป็น 6 เสาหลัก ของวงการสาธารณสุข  GFSMIT

               แต่ละตัว ต้องหาให้ได้เช่นกันว่า ในองค์กรของเรา นั้น

            เป็นจุดแข็ง หรือ เป็นจุดอ่อน เน้นนะครับ ว่า สิ่งเดียวกันนั้น คำเดียวกันนั้น จะเป็น ทั้ง แข็ง และ อ่อน เป็นทั้ง 2 ไม่ได้

            เช่น บุคลากร        บางคนเขียนว่า มีศักยภาพ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ

                                    บางคนพูดว่า มีหนี้สินมาก ขาดขวัญ กำลังใจ

เราต้องหา ค่าเฉลี่ย ของแต่ละคน ออกมาเป็นค่าคะแนน หากเกินครึ่ง เป็นจุดแข็ง หากน้อยกว่าครึ่ง เป็น จุดอ่อน

            เช่นคำว่า บุคลากร  คนที่ 1 ให้ 5 คะแนน      คนที่ 2 ให้ 4 คะแนน         คนที่ 3 ให้ 3 คะแนน           

คนที่ 4 ให้ 2 คะแนน         คนที่ 5 ให้ 5 คะแนน         รวม   189 คะแนน เฉลี่ย  3.8  คะแนน  บุคลากร ถือเป็นจุดแข็ง

เทคนิค เล็ก ๆ น้อยๆ วิธีการทำกลุ่ม ระดมความเห็น โดยทั่วไปใช้ AIC มีข้อดีคือ ไม่ตัดความเห็นของใครออกไป หากใช้การพูด จะมีคน Dominate กลุ่ม   บางคนไม่ชอบพูด ก็ ให้เขียน แล้วนำไปแปะ

ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย วิทยากรกกลุ่ม ต้อง Grouping ให้เหลือ น้อยที่สุด กรอง แล้ว ตกผลึกให้ได้

ไม่ควรลงคะแนนยกมือ แต่ควรให้เขียนคะแนน จะแม่นยำที่สุด

              

รู้เขา รู้เรา แล้วนำ มาจัดหากลุ่มมาตรการสำคัญ ที่เรียกว่า TOWS Metrix  

               เพื่อให้ได้ว่า เป็น กลยุทธ รุก(ลุย) รับ ปรับ หรือ แก้

กลยุทธเชิง รุกกรณีที่ SO     ภายในแข็ง ภายนอกก็เอื้ออำนวย

กลยุทธเชิง รับ WT              ภายในอ่อน ภายนอกก็ขัดขวาง

กลยุทธเชิงปรับปรุง WO      ภายในอ่อน ภายในแข็ง

กลยุทธเชิงแก้ไข ST            ภายในอ่อน ภายนอกก็ขัดขวาง

 

 

McKinsey 7S model มีอะไรบ้าง

Strategy : คำจำกัดความของวิธีการสำหรับองค์กรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

Structure : ทรัพยากรภายในบริษัท ในกลุ่มธุรกิจ และทีมต่างๆ

Systems : กระบวนการทางธุรกิจ และแพลตฟอร์มทางเทคนิคที่ใช้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน

Staff : ประเภทของพนักงาน ชุดค่าตอบแทน และวิธีดึงดูดและรักษาไว้

Skills : ความสามารถในการทำกิจกรรมที่แตกต่าง

Style : วัฒนธรรมขององค์กรในแง่ของความเป็นผู้นำ และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ

Shared Values : สรุปในวิสัยทัศน์และหรือภารกิจ นี่คือวิธีที่องค์กรกำหนดแนวทางสำหรับองค์กร

 


WHO แนะนำ ให้ใช้ 6 Building Blog

               The Six Building Blocks of a Health System and Desirable Attributes  The WHO Health System Framework 6 Building Blocks 6blog 6block

 

1. งานบริการสุขภาพ :Service

2. กำลังคนด้านสุขภาพ :Man Power

3. ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ: Information

4. การเข้าถึง เทคโนโลยี ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น: Technology                  

5. กลไกการคลังด้านสุขภาพ  :Financial

6. ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล  : Good Governance

 

 

ขอบคุณ ข้อมูล จาก สถาบันระบบสุขภาพ

องค์ประกอบสำคัญของระบบสุขภาพประกอบไปด้วย การให้บริการ บุคลากร ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ยาและเวชภัณฑ์ ระบบการคลังด้านสุขภาพ และภาวะผู้นำและธรรมภิบาล ระบบสุขภาพที่ดีจะส่งมอบงานบริการสุขภาพตามความจำเป็นของประชาชน โดยมีกลไกการคลังที่เข้มแข็ง มีบุคลากรดี มีความพร้อมในจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมและใช้เป็นฐานในการตัดสินใจเชิงนโยบายได้ ธรรมชาติของระบบสุขภาพนั้น มีความหลากหลาย มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่มทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การตรวจสอบ กำกับ ควบคุมปัจจัยนำเข้า กระบวนการ จนถึง ผลลัพธ์ของการดำเนินการในระบบสุขภาพทั้งหมด จึงเป็นเรื่องยากและท้าทายเป็นอย่างมาก การติดตามและประเมินผลลัพธ์ของระบบสุขภาพจึงต้องมีการเชื่อมผสานองค์ประกอบของระบบสุขภาพทั้งหมด ซึ่งแต่ละประเทศก็มีบริบทที่แตกต่างกันไป คำจำกัดที่ต่างกัน ทำให้ที่มาของตัวชี้วัดแตกต่างกัน เปรียบเทียบผลลัพธ์กันไม่ได้