8/31/11

ตัวชี้วัดหลักงานสาธารณสุขKPIsยโสธร

วันที่ 31 สิงหาคม 2554 :ตัวชี้วัดหลักงานสาธารณสุขKPIsยโสธร


โอ่งแห่งชีวิต Jar of life : พันธุ์ทอง จันทร์สว่าง

ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว




นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว เข้าร่วม การอบรมบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ระหว่างวันที่ 29-31 ส.ค.54 ณ โรงแรมกิจตรงวิลล์ รีสอร์ท ตำบลขามใหญ่ จังหวัด อุบลราชธานี วิทยากร โดย ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร อาจารย์มาริษา นาคทับทิม และคณะ

จาก วิสัยทัศน์ และประเด็นยุทธศาสตร์ ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

วิสัยทัศน์:เป็นองค์กรชั้นนำด้านการจัดการระบบสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบสุขภาพ

และเป้าประสงค์ 17 เป้าประสงค์ จากทั้ง 4 มุมมอง นั้น นำมา กำหนด เป็น ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก Key Performance Indicators:KPIs) ได้ดังนี้

ในวันนี้ ระดมความคิด จาก ผู้เข้าร่วมประชุม ในหัวข้อ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก: Key Performance Indicators: KPIs

การกำหนดกลยุทธ์ โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix

ข้อกำหนดที่สำคัญคือ กลยุทธจะต้องไม่เลือนลอย มีที่มาโดยมี SWOT รองรับ

ตัวที่จะบอกราได้ว่าจะกำหนดกลยุทธใด คือ ตัว ปัจจัยภายในองค์กรเท่านั้น

ส่วน ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยเอื้อ หรือขัดขวางกลยุทธ ของเรา ฉะนั้น ในการกำหนด กลยุทธ จึง สามารถ จับคู่ ปัจจัยภายในกับปัจจัยนอกนอก ได้ 4 คู่ ( ไม่ให้จับคู่ ปัจจัยภายใน กับ ปัจจัยภายใน หรือ ปัจจัยภายนอก กับ ปัจจัยภายนอก)

คู่ที่ 1 S+O กลยุทธเชิงรุก ดี1ประเภท1 หรือกลยุทธ ที่ต้องลุยทันที หรือ กลยุทธ ผลึกกำลัง เพื่อใช้จุดแข็งเปิดโอกาสใหม่ทางการแข่งขัน (หรือกลยุทธเชิงรุก) Matching approach

คู่ที่ 2 S+T กลยุทธเชิงรับ ดี1ประเภท2 หรือกลยุทธ โอบอ้อม การอาศัยจุดแข็ง ต้านและตรึงภาวะคุกคาม ที่มีต่อ วัตถุประสงค์ขององค์กร (หรือกลยุทธเชิงรับ) Covering approach

คู่ที่ 3 W+O กลยุทธ ทดแทน มีจุดอ่อนต้องเร่งพัฒนาจุดอ่อน เพื่อใช้โอกาสที่มีอยู่ขององค์กร

(หรือกลยุทธเชิงพัฒนา) Off-set approach

คู่ที่ 4 W+T กลยุทธ บรรเทา เพื่อหาทางแก้ไขจุดออ่อน และเลี่ยงภาวะคุกคาม ที่บดบังวัตถุประสงค์ขององค์กร (หรือกลยุทธพลิกแพลง) Mitigation approach


กลยุทธ์ Strategy ง่ายๆ  คือ ความคิดที่ชาญฉลาด สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แล้ว นำไปสู่ความสำเร็จ

กลยุทธ์ที่ดี มีคุณลักษณะ

1.    เป็นกลยุทธ์ แตกต่างที่คนอื่นคิดไม่ถึง

2.    เป็นกลยุทธ์ ถูก กาละ เทศะ

 

นักกลยุทธ์ ทำอะไร Think  Plan Act

1.    Think เป็นนักคิด

2.    Plan เป็นนักวางแผน ( แปลงความคิดสู่การปฏิบัติ)

3.    Act เป็นนักปฏิบัติ ( เรียนไปปรับไป ว่าแผน หรือ ความคิดนั้น work ไหม หากไม่ดีก็ คิดใหม่ วนไปเรื่อยๆ เป็น Circle

 

ทุกสิ่งไม่ได้เป็นไปตามแผน ยกตัวอย่าง คือ ระดับบุคล วางแผนให้ร่างกายแข็งแรง

กิจกรรมหลักคือ 3 อ 2 ส.

อ. ควบคุมอารมณ์ พอทำได้

อ.อาหาร ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

จะพบว่า อ. ออกกำลังกาย ล้มหเหลว มาก และ ปรับแผนบ่อยที่สุด

 

ประสบการณ์ตรง ของผม ( นายพันธุ์ทอง )

ทุกสิ่งที่วางแผนไว้จะลงมือทำ ไม่ต้องรอให้มีความพร้อมจึงทำ เพราะหากรอ จะไม่มีวันได้ทำ

เพราะความพร้อมเกิดขึ้นได้ยากมา

ทำไปแล้วไม่ต้องคาดหวังผลให้ดีที่สุดแต่ผมจะทำให้ดีเพียงพอเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ

 

ทำไป ปรับไป PDCA

หลัก The Jar of life ยังใช้ได้เสมอ ต้องใส่หินก้อนใหญ่ ในชีวิต 24 ชั่วโมง ก่อน

หินก้อนสำคัญ หินจำเป็น ส่วน หินไม่จำเป็น หรือ สิ่ง อัปมงคล ไม่ควรนำเข้าสู่ชีวิต

 

การก้าวเดินสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ต้อง

เริ่มจากกิจกรรมเล็ก ๆ กิจกรรมเล็กๆต้อง ทำเรื่องใกล้ตัว

หลักการคือ ทำน้อย แต่ได้ มาก

 

สิ่งที่ ทำน้อย แต่ได้ มาก ของผมเช่น

แต่ได้การควบคุมอารมณ์ อ่อนน้อม ถ่อมตน

การออกกำลังกาย  

การทำสมาธิ  

ประสบการณ์ของผม ทำน้อยได้มาก แบบบูรณาการ  ได้ทั้ง การควบคุมอารมณ์ กำลังกาย และ ใจได้สมาธิ ได้แนวคิดใหม่ ๆในการทำงาน คือ การวิ่ง  อย่างน้อย วันละ 10.5 กม.

 

ต้องมีเข็มทิศชีวิต งาน

            จะได้รู้ว่าเราไปถูกทางไหม เราต้องรู้ว่า ตอนนี้เรา อยู่ที่ ไหน

           เป้าหมาย          ต้องซอยย่อย เล็กลง ให้สำเร็จง่าย มีเวลาเชยชมความสุขระหว่างทางได้

เป้าหมายที่ดี ต้องไม่ใช่ศิลาจารึก  ( Flexible ) เปลี่ยนแปลงได้ แต่ ยังอยู่ในเส้นทางที่วางแผนไว้

           เพราะโลกนี้ ไม่มีเพียงสีขาว กับ ดำ Binary Scale

ยังมี Gray Zone ที่หลากหลายมากมายให้พิจารณาหรือสามารถทำได้

เพราะหากติดกรอบ จะ แบ่งแยก สังคม ออกเป็น 2 กลุ่ม ชัดเจน

ยกตัวอย่าง การแก้ปัญหา หาบเร่ แผงลอย

กีดขวางทางเดิน

สุขอนามัย

สะอาด

กระทบร้านค้าอื่น

เข้าถึงง่าย

ราคาถูก

เป็นสีสันดึงดูดผู้คนได้

สินค้าหลากหลาย

เคลื่อนย้าย ทำความสะอาดง่าย

สร้างคน สร้างงาน

สร้างเศรษฐกิจที่หลากหลาย 


1 comment:

  1. Anonymous21/9/11

    อยากรู้จังว่าทำไม ผอ. ไทยเจริญถึงได้ย้ายไปเป็น ผอ. ที่ค้อวังนะ ประเด็นนี้เกี่ยวกับการบริหารหรือเปล่า

    ReplyDelete