วันที่ 4 สิงหาคม 2554 : งบค่าเสื่อมคืออะไร ทำไมต้องลงทุนค่าเสื่อมUC
วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประสานและรวบรวม แผนความต้องการ และบริหารจัดการงบค่าเสื่อมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2555 จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)ในสังกัด
ซึ่งงบลงทุนค่าเสื่อม นั้น ในปี งบประมาณ ก่อนๆ บางครั้งก็เรียก งบค่าเสื่อม บางทีก็เรียก งบลงทุน UC เป็นต้น
แล้ว คำว่า งบค่าเสื่อมคืออะไร ทำไมต้องลงทุนค่าเสื่อมในระบบUC ต่างจากงบลงทุนกระทรวงสาธารณสุขอย่างไร มีคำตอบจาก ประสบการณ์ การจัดทำแผน งบประมาณ ของหน่วยบริการได้ ดังนี้
ทำไมจึงชื่อว่า งบค่าเสื่อม
งบค่าเสื่อม เดิมมีชื่อเรียกว่างบลงทุน หรือ ซ่อมบำรุงเพื่อการทดแทน
ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น งบค่าเสื่อม เพื่อให้สอดคล้องกับที่มาของฐานข้อมูลที่ใช้คำนวณงบประมาณเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล* โดยคำนวณจากสัดส่วนต้นทุนค่าเสื่อมกับต้นทุนบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และ บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
*ซึ่ง สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ทุกแห่ง ปัจจุบัน บันทึกบัญชีการเงิน ด้วยระบบ เกณฑ์คงค้าง หรือ ระบบ General Ledger (GL) แทนระบบเกณฑ์เงินสดเดิม
งบค่าเสื่อม คืออะไร งบค่าเสื่อม หมายความว่าอะไร งบค่าเสื่อม หมายความว่าอย่างไร
ความหมาย ของงบค่าเสื่อม
งบค่าเสื่อม หมายถึง เงินกองทุน ที่ใช้ในการจัดหาเพื่อการทดแทน หรือ ซ่อมบำรุง ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้างที่เสื่อมสภาพ หรือ ถดถอย หรือ เสียหาย จนไม่สามารถใช้งานได้ดังเดิม จากการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดสรรเงินกองทุนนี้ให้กับสถานบริการทุกแห่ง คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .)
งบประมาณเพื่อการลงทุน ด้านสาธารณสุข มี 2 แหล่งหลัก
แหล่งที่ 1 จากกระทรวงสาธารณสุข เรียกว่างบลงทุน
จัดสรรครอบคลุม ทั้ง หน่วยบริหาร และ หน่วยบริการ ในสังกัด กระทรวงสาธารสุข
แหล่งที่ 2 จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาต สปสช. เรียกว่างบ ค่าเสื่อม
จัดสรรครอบคลุม ให้เฉพาะ หน่วยบริการ เท่านั้น
รายละเอียดเพิ่มเติม
แหล่งที่ 1 จากกระทรวงสาธารณสุข เรียกว่างบลงทุน ระยะเวลา การเดินทาง ของงบประมาณ ในวงรอบระยะเวลา 2 ปี
วงเงินในการจัดสรร ปกติ หน่วยบริหาร 10 % หน่วยบริการ 90 % ในจำนวนนี้ ให้มีสัดส่วน สิ่งก่อสร้าง 65 %
ครุภัณฑ์ 35% วงเงินแต่ละรายการ ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กระทรวงกำหนด ปกติ ที่มาของการจัดสรร ให้ แบ่ง ตามประชากรในแต่ละเขตสุขภาพ ปกติผู้ตรวจราชการในแต่ละเขต จะกันงบไว้สำหรับขับเคลื่อนงานในระดับเขตก่อน
แหล่งที่ 2 จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาต สปสช. เรียกว่างบ ค่าเสื่อม
ในสัดส่วน 90 % ของหน่วยบริการ นั้น แบ่งตาม รพศ. รพท. 40 % รพช. 40 % และ รพ.สต. 20 %
แหล่งที่ 2 จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาต สปสช. เรียกว่างบ ค่าเสื่อม มีระยะเวลา การเดินทาง ของงบประมาณ ในวงรอบระยะเวลา 1 ปี ( ปีต่อปี )
งบค่าเสื่อม ที่จัดสรรครอบคลุม ให้เฉพาะ หน่วยบริการ นี้ จะเป็นงบลงทุนเพื่อการทดแทน จากครุภัณฑ์ และ สิ่งก่อสร้าง จากที่เคยมี หรือเคยได้รับ จาก งบลงทุนมาแล้ว จัดสรร ในระดับเขตสุขภาพ 10 % ในระดับจังหวัด 20 % ในระดับ CUP 70 %
ซึ่ง ตามนิยามข้างต้น นั้น ส่วนตัวผม ขอเสนอ ให้ตัด ประโยคสุดท้ายออกไปได้ก็ดี เพราะ ไม่มีสถานบริการสาธารณสุขแห่งใดจะสามารถปฏิเสธ การให้บริการสาธารณสุข แก่บุคคลที่มีสิทธิอื่นๆ นอกเหนือไปจาก สิทธิ ในระบบหลักประกันสุขภาพ แม้ว่า ความจริง งบประมาณ ค่าเสื่อม หรืองบค่าเสื่อมนี้ จะมีที่มาจากการคำนวณงบประมาณรายหัว จาก ประชากร ที่มีสิทธิ ในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือ สิทธิUC เท่านั้นก็ตาม
No comments:
Post a Comment