8/20/16

1สค.2559สาธารณสุขยโสธร_ชี้แจงเลื่อนเงินเดือน ณ 1เมย.2559

1สค.2559สาธารณสุขยโสธร_ชี้แจงเลื่อนเงินเดือน ณ 1เมย.2559
วันที่1สิงหาคม2559
วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ เข้าประชุม เรื่อง
การสรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือน ณ วันที่ 1 เมษายน 2559
ณ ห้องพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
โดยกำหนดให้ทุกหน่วยงาน ส่ง ผลการพิจารณาให้กับ สสจ.ยโสธร ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2559


หลักการ
ร้อยละในการเลื่อน ต่ำสุด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 2 สูงสุด ไม่เกินร้อยละ 4  
การจัดกลุ่ม       ระดับ ชำนาญการพิเศษ อาวุโส ประเมิน รวมกันทั้งจังหวัด
ระดับ ชำนาญการ ชำนาญงาน ลงมา รวมกันทั้งจังหวัด

โควตากลาง      1 . สำหรับ ผลงานเด่นระดับเขต ระดับประเทศ
2. สำหรับ รอง นพ.สสจ.ผู้ดูแล โซน 10 คน / ท่าน
ให้ทำบันทึกเสนอขอ พร้อมรายละเอียดประกอบการเสนอขอ ตาม หลักเกณฑ์
แนวทางการปฏิบัติ
1.    ให้ทุกส่วน ส่งประเมินผลก่อน  
2.    ให้ ข้าราชการทุกคน ส่งแบบประเมินผล ตามแบบฟอร์ม การประเมินผล รายบุคคล
3.    ให้ทุกส่วน การควบคุมเม็ดเงิน ตามที่ได้รับจัดสรร ( ไม่ให้มีติดลบ )
4.    นำเม็ดเงินจัดสรรตามผลการประเมิน
การประเมินผลตามตัวชี้วัด
1.    ให้กำหนดตัวชี้วัด ตาม ป.ยส. 2.1 ให้กับทุกคน 3-5 ตัวชี้วัด ประสิทธิผล น้ำหนัก ร้อยละ 40
2.    ให้คะแนน ตาม ป.ยส. 2.2  คุณภาพและปริมาณ  น้ำหนัก ร้อยละ 40
3.    ให้คะแนน สมรรถนะ ตาม ป.ยส. 3    น้ำหนัก ร้อยละ 10
4.    ให้คะแนน สมรรถนะ ตาม ป.ยส. 3    น้ำหนัก ร้อยละ 20
การบันทึกค่าประเมิน
1.    ค่าประเมินในแต่ละระดับ ไม่ให้มีหลายค่า ( ไม่เกิน 3 ค่า )
2.    จำนวนในแต่ละ ระดับ ไม่กำหนด แต่ให้คุมด้วยจำนวนเงิน (สสจ.ยยส. ดีเด่น ไม่เกินร้อยละ 15)
ด้านเอกสาร
1.    ผู้ว่าราชการจังหวัดเน้นให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณ ปี 2548
2.    สาธารณสุขอำเภอ ออกจากนายอำเภอ ใช้หนังสือภายนอก
3.    โรงพยาบาลชุมชน ใช้บันทึกข้อความ          
(บันทึกข้อความ ตัว THSaraban หนา 29  ส่วนราชการ หนา 20  
เริมจาก เรียน      ไม่หนา  ขนาด 16 pt
ความห่าง จาก วรรค ย่อหน้าใหม่  6 pt )

ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เลื่อนเงินเดือน
1.    ถูกลงโทษทางวินัย มากกว่าภาคทัณฑ์ ในรอบนั้นๆ  
2.    ลาศึกษาต่อ
3.    บรรจุ หรือ ทำงานไม่ครบ 4 เดือน
4.    ลากิจเกิน 23 วัน ต่อ 6 เดือน  (45 วัน ต่อ ปี )
5.    มาสายเกิน 18 วัน ต่อ 6 เดือน  (35 วัน ต่อ ปี )
เรื่องอื่นๆ
            การจ่ายค่าตอบแทน ตาม ว.621 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2559
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีวุฒิปริญญาด้านสาธารณสุข ทั้งข้าราชการ ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว
สามารถเบิกค่าตอบแทนการปฏิบัติราชการจากเงินบำรุง ในอัตราของนักวิชาการสาธารณสุขได้
โดยให้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำบันทึกเสนอสาธารณสุขอำเภอ ออกคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ นักวิชาการสาธารณสุขได้  สำหรับผู้ที่ได้ออกปฏิบัติงานเป็นการประจำตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
 นักวิชาการสาธารณสุข ทั้งนี้ โดย คำนึงถึงสถานะเงินบำรุง ลักษณะ ปริมาณงาน และกรอบ FTE
            มติที่ประชุม จังหวัดยโสธร ถ้าเจ้าหน้าที่ของเรามีคุณสมบัติ ก็ให้ผู้บริหารออกคำสั่งให้ ปฏิบัติหน้าที่
นักวิชาการสาธารณสุขได้  โดย คำนึงถึงสถานะเงินบำรุง ลักษณะ และ ปริมาณงาน และกรอบ FTE
            ให้เทียบเคียง กับ เงินประจำตำแหน่ง คือไปปฏิบัติหน้าที่ ในลักษณะที่เกี่ยวกับ ตำแหน่งนั้นๆ
            การปรับค่าจ้าง พกส.  
ปรับประจำปี ร้อยละ 4
การปรับค่าจ้าง ให้ถึงขั้นต่ำ ( ให้มีการเคลื่อนไหว) ทั้งนี้ สสจ.ยส.จะแจ้งให้จัดทำเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

การนัดประชุม นพ.สสจ.ยส.เน้นให้เข้าร่วม ประชุม ตามกำหนดเวลาต่อไป

No comments:

Post a Comment